วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560
บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
นำเสนอคำคม
1.การใช้สายตา การมอง การสบสายตาขณะพูด
2.การแต่งกาย
3.ภาษาพูด จังหวะการพูด ระดับเสียง
4.การเดิน / การนั่ง
5.การแสดงออกและท่าทาง การไหว้ การรับไหว้
6.ความสะอาด
7.สุขภาพต้องดี คนป่วยคงไม่มีใครอยากเข้าใกล้
สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ คือความท้อถอย
นำเสนอคำคม
นางสาววราภรณ์ แทนคำ
ความหมายของบุคลิกภาพ
ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น
มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพ ด้วยกันคือ
บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที
บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา
บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส
ประเภทของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพภายนอก คือ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคนสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น 4 หมวด คือ
1. รูปร่างหน้าตา
2. การแต่งกาย
3. กิริยาท่าทาง
4. การพูด
บุคลิกภาพภายใน คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น
สัมผัสไม่ได้
แก้ไขได้ยาก เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง
2. ความกระตือรือร้น
3. ความรอบรู้
4. ความคิดริเริ่ม
5. ความจริงใจ
6. ไหวพริบปฏิภาณ
7. ความรับผิดชอบ
8. ความจำ
9. อารมณ์ขัน
การมองตัวเองในกระจกเงา
- การมองเห็นตัวเอง
- การยอมรับตัวเอง
- การเข้าใจในตัวเอง
- ความเชื่อถือตัวเอง
- ความต้องการเปลี่ยนตัวเอง
ในแต่ละครั้งที่เราต้องพบเจอผู้คนในองค์กรหรือนอกองค์กรการสนทนา การแสดงความคิดเห็น
หรือการพูดให้ความรู้ การนำเสนองานต่างๆ นั้นควรประกอบด้วย 3 ส่วน คือเนื้อหาสาระของคำพูด 7%
น้ำเสียง 38% กิริยาท่าทาง (บุคลิกภาพ) 55%
1.การใช้สายตา การมอง การสบสายตาขณะพูด
2.การแต่งกาย
3.ภาษาพูด จังหวะการพูด ระดับเสียง
4.การเดิน / การนั่ง
5.การแสดงออกและท่าทาง การไหว้ การรับไหว้
6.ความสะอาด
7.สุขภาพต้องดี คนป่วยคงไม่มีใครอยากเข้าใกล้
สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ คือความท้อถอย
บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้วทำให้ความเป็นคนๆนั้นไม่สมบูรณ์ได้แก่ความท้อถอยแม้ว่าเป็นประโยคสั้นๆ แต่ถ้าอาการนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว อาการนี้จะเข้ามาทำลายความสมดุลในตัวเรา
เข้ามาแทรกในความรู้สึกนึกคิดทำให้พลังและศักยภาพของเราลดน้อยลงกว่าครึ่ง
ในเรื่องความท้อถอยมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลในช่วงอายุอื่นจะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิดอาการท้อเป็นช่วงๆ บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้อ
ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ
- ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์
- ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย
- .ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของคนบางท่านอาจจะรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ
ประเมิน
ตัวเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
เพื่อน
-เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
อาจารย์ผู้สอน
-เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่ายมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพ
-เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่ายมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพ
ห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น