วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
นำเสนอคำคม
นางสาวปัณฑิตา คล้ายสิงห์
นางสาวชนากานต์ แสนสุข
นางสาวสุจิตรา มาวงศ์
นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว
นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์
เพื่อนๆนำเสนองานวิจัย
กลุ่มที่ 1 วิจัยเรื่อง ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต
วิจัยเรื่อง : ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต
สาขา : วิชาการบริหารสถานศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การศึกษาระดับ : ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้วิจัย : อัญชลี พิมพ์พจน์
ปีการศึกษา : 2553
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ผลจากการวิจัยทำให้ทราบความคิดเห็นของมหาบัณฑิต
และผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปีการศึกษา 2549 –
2551 ที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
ประเด็นที่ 2 เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมถึงพัฒนานิสิตต่อไปในอนาคต
ทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ
ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน ด้านการบริหารกิจการนักเรียน
ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ประเด็นที่ 3 มหาบัณทิตให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็ง
และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.
เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน คือ
ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล
ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน ด้านการบริหารกิจการนักเรียน
ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานขิงมหาบัณฑิต
2.
เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
ของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัดและปีที่สำเร็จการศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและระบบคุณค่าแห่งสังคมไทยโดยรวม ท้องถิ่นและชุมชน
2. เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก้าวทันมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง
3. มีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารการศึกษาให้บรรลุผล และมีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าสามารถนําเอาทฤษฎีหรือผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารการศึกษา
4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทํางาน
5. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
และมีคุณธรรมจริยธรรม
กลุ่มที่ 2 งานวิจัยเรื่อง การศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถาน
งานวิจัย : เรื่องการศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ
การศึกษาระดับ : ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม) การบริหารการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย : นางระเบียบ เชี่ยวชาญ
ปีการศึกษา : 2550
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่
1 การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคน ทั้งนี้เพราะความสามารถและศักยภาพของคนจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญ
ประเด็นที่
2 เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดของการพัฒนา
ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและบุคลิกภาพ
เป็นวัยที่เรียกว่าช่วงแห่งการเจริญเติบโตงอกงามสำหรับชีวิต และยังเป็นช่วงวัยที่เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุดในชีวิต
ประเด็นที่
3การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม
เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กสามารถช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต
ประเด็นที่
4 เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว
เด็กทุกคนมีความสามารถด้านการเรียนรู้และด้านสมอง เท่าเทียมกัน องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมรอบๆ
ตัวเด็ก
ประเด็นที่
5 การจัดการศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ในทำนองเดียวกันต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นบุคลากรหลักและเป็นผู้นำในการบริหาร
วัตถุประสงค์การวิจัย
1.
เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา
ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ
และการส่งเสริมการวิจัย
2.
เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้
การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัยจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์สอนและขนาดของโรงเรียน
3.
เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถาศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ
กลุ่มที่3 งานวิจัย เรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
งานวิจัย : เรื่อง
การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
การศึกษา : ระดับ
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัย : ศิลปกร
ผู้วิจัย : นางสาวกัญวัญญ์ ธารีบุญ
ปีการศึกษา : 2557
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1ในปัจจุบันผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรของตนได้มากพอ
จึงก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน
โรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยหรือโรงเรียนอนุบาลจึงจำเป็นกับสังคมปัจจุบัน
และจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
ประเด็นที่ 2 ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการที่จะบริหารจัดการให้มีคุณภาพ
ประเด็นที่ 3 นโยบายการศึกษาของรัฐที่ไม่ชัดเจนแน่นอนและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งควบคุมมากกว่าส่งเสริม
กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ
ประเด็นที่ 4 ในการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนมีปัญหาด้านรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้นการวางแผนพัฒนาและการเกิดผลสัมฤทธิ์ผลของเด็กสูงกว่าความเป็นจริงการได้รับ
การช่วยจากรัฐบาลไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียมกัน การมีมีส่วนร่วม การบริหารการศึกษา
ประเด็นที่
5 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกลไกลสำคัญสำคัญในการสร้างเครือข่ายสร้างทีมงานขับเคลื่อนสถานศึกษาให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
ผู้บริหารมีหน้าที่ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในสถานศึกษาสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม(Participative
Management)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2. เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1.องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยมีจำนวน 9
องค์ประกอบ
คือ
องค์ประกอบที่ 1 ความผูกพันต่อองค์การ
องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาทีมงาน
องค์ประกอบที่ 3 การกระจายอำนาจ
องค์ประกอบที่ 4 ความไว้วางใจกัน
องค์ประกอบที่ 5
การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
องค์ประกอบที่ 6 การตัดสินใจร่วมกัน
องค์ประกอบที่ 7
การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 8
ความเป็นอิสระในการบริหารองค์การ
องค์ประกอบที่ 9 เข้าใจธรรมชาติขององค์การ
การประเมิน
ตัวเอง
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
เพื่อน
-เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
อาจารย์ผู้สอน
-เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ
ห้องเรียน
-ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน