วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 25 มกราคม  2560
 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

เพื่อนนำเสนอบทความ


1.นางสาววันเพ็ญ ใหม่สุด เลขที่ 4


2.นางสาวรัชดา เทพเรียน เลขที่ 6



3.นางสาวจงรักษ์  หลาวเหล็ก เลขที่ 1




บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์
              เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว
            นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการบริหาร ผู้นำยังคงเป็นความคาดหวังสูงสุดในการแบกรับภาระ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่ทว่า บทบาทผู้นำในยุคของพระนเรศวรมหาราชกับผู้นำของวันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจ หากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจ ไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วม ก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้นำยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ 
ประเภทของผู้นำ 
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ 
  1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช  (Legal Leadership)
  1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  (Charismatic Leadership) 
  1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership) 

2.  ผู้นำตามการใช้อำนาจ 
   2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership)
   2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership 
   2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) 
3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก
  3.1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) 
  3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership) 
  3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership) 

คุณสมบัติของผู้นำ
ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not made)
  คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
  1. ความมุ่งมั่น (drive)
  2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
  3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
  4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
  5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
  6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
ประเมิน
ตนเอง

-มาเรียนตรงเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนขณะที่ครูกำลังสอน ไม่พูดคุยเสียงดัง



เพื่อน
-มาเรียนตรงเวลาแต่ง กายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ตั้งใจเรียนขณะที่ครูกำลังสอน



อาจารย์ผู้สอน
- มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารในการมาสอนเป็นอย่างดี 


ห้องเรียน
-ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน โต๊ะเรียนมีจำนวนเพียงพอต่อนักศึกษา

วันพุธที่ 18 มกราคม 2560
 บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

เพื่อนนำเสนอเกี่ยวกับคำคมผู้บริหาร

 นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2





    นางสาวชณาภา คะปัญญา เลขที่ 3 




อาจารย์บรรยายความหมายและความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา


ความหมายของการบริหารการศึกษา ( Education Administration )
การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา ความหมายของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน คือ

     * การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
     * การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
     * การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
     ** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้”


สรุปการบริหารสถานศึกษา
       สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี มีพลังคนที่มีความสามารถพร้อมสร้างบุคลากรให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้บุคลากรร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของงานภายในสถานศึกษาและให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม 

การประเมิน

ตัวเอง        - เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน


อาจารย์ผู้สอน

        เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ

ห้องเรียน
             ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน







                                             
  

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1